- มีการดูแลถนนทุกเส้นให้ได้รับการซ่อมแซม ไฟส่องสว่าง มีการระบายน้ำที่เหมาะสม
- ลดปัญหาถนนไม่มีใครรับผิดชอบดูแล
พื้นที่กรุงเทพฯ มีโครงการหมู่บ้านจัดสรรเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาศัยอำนาจการจัดสรร ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 (ปว.286) บังคับใช้ในปี พ.ศ. 2515 โดยมีข้อบังคับในการทำโครงการจัดสรรเป็นหลัก แต่ยังไม่มีการบังคับให้จัดตั้งนิติบุคคล และต่อมา เมื่อมีการตราพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 กำหนดให้มีการจัดตั้งนิติบุคคลและการค้ำประกันงานสาธารณูปโภคในพื้นที่โครงการจัดสรร
เมื่อมีการจัดตั้งนิติบุคคลทำให้ถนนและสาธารณูปโภคในพื้นที่โครงการจัดสรรอยู่ในความดูแลของนิติบุคคล แต่เมื่อนิติบุคคลนั้นหรือภาคเอกชนผู้พัฒนาโครงการจัดสรรนั้นไม่ได้ดำเนินการแล้วทำให้ถนนหรือสาธารณูปโภคเหล่านั้นไม่ได้รับการดูแล ซึ่งเกิดขึ้นกับโครงการหมู่บ้านจัดสรรหลายแห่งในกรุงเทพฯ
นอกจากนี้ถนนบางเส้นของโครงการจัดสรรยังเป็นถนนกึ่งสาธารณะ คือเป็นถนนที่รถสามารถสัญจรผ่านได้อย่างอิสระเหมือนถนนสาธารณะทั่วไป แต่กรรมสิทธิ์ยังเป็นของนิติบุคคลของหมู่บ้านจัดสรรอยู่ ซึ่งในหลายโครงการจัดสรร นิติบุคคลไม่ได้ดำเนินการแล้ว ทำให้ถนนและสาธารณูปโภคในพื้นที่โครงการจัดสรรเหล่านั้น ไม่ได้รับการดูแลส่งผลกระทบต่อทั้งผู้อยู่อาศัยในบริเวณนั้น โดยพื้นที่ดังต่อไปนี้ กทม. มีอำนาจในการเข้าไปดูแลปรับปรุง (อ้างอิงจาก ข้อบัญญัติ กทม. เรื่อง ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพย์สินที่ประชาชนทั่วไปใช้สอยร่วมกัน)
1. ทรัพย์สินที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ยินยอมให้ประชาชนเข้าใช้สอยเสมือนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โดยมิได้หวงห้ามหรือสงวนสิทธิ์ในทรัพย์สินติดต่อกันมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี
2. เจ้าของกรรมสิทธิ์ได้แสดงเจตนาเป็นลายลักษณ์อักษรยกให้ กทม. หรือให้เป็นสาธารณสมบัติของ แผ่นดิน
3. เจ้าของยินยอมให้ กทม.ใช้สอย เช่าหรือเจ้าของจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินหรือจดทะเบียนภารจํายอม ให้ กทม.
4. ทรัพย์สินของส่วนราชการอื่น
ดังนั้นเพื่อพัฒนาพื้นที่เหล่านี้ กทม. จะ
1. สำรวจและรวบรวมรายชื่อ พร้อมทั้งประสานผู้แทนเพื่อรวบรวมปัญหา
2. ดำเนินการเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ การเช่า และการประกาศเพื่อให้สามารถเข้าไปดำเนินการได้ตามกฎหมาย
3. ดำเนินการดูแลปัจจัยพื้นฐานของการอยู่อาศัย เช่น ไฟสว่าง น้ำไหล ถนนสะดวก ระบายน้ำดี ทั้งน้ำท่วมและน้ำเสีย เก็บขยะ ตามความต้องการเพื่อแก้ไขปัญหาของประชาชน
*อัพเดตล่าสุด วันที่ 29 มีนาคม 2565