- ประชาชนได้รับการบริการและรักษาพยาบาลที่สะดวก รวดเร็ว ทันสมัย และเชื่อถือได้โดยไม่ลดต้นทุนเวลาและค่าใช้จ่ายได้
ประสบการณ์และภาพจำของประชาชนในการเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลของรัฐ ทั้งการรอคิวที่ล่าช้าด้วยการทำเอกสาร การนัดหมาย การรอชำระเงินและรับยา ตลอดจนการรอพบแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญสูงแต่มีจำนวนจำกัด หลายพื้นที่ครอบครัวอยู่ห่างไกลสถานพยาบาล ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการเดินทางสูง ต้องใช้เวลาอยู่ที่โรงพยาบาลกว่าครึ่งวัน แต่พบแพทย์เพียง 10-15 นาที
ผู้ป่วยหลายกลุ่มโรคต้องมีการตรวจรักษาเป็นประจำเพื่อดูความเปลี่ยนแปลงของอาการ (follow up) ทุกๆ เดือน หรือ 3 เดือนครั้ง ส่งผลให้ประชาชนบางกลุ่มเสียโอกาสในการทำงานสร้างรายได้ ไม่อยากลางานหรือหยุดงานเนื่องจากขาดรายได้และเป็นภาระค่าใช้จ่าย ยิ่งค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปยังสถานพยาบาลของกลุ่มผู้สูงอายุหรือผู้ที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ยิ่งมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าปกติ
ปัญหาดังกล่าวสามารถแก้ไขได้ และอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนด้วยการประยุกต์ใช้อุปกรณ์ที่ทันสมัย และโครงข่ายเทคโนโลยีดิจิทัลทางการแพทย์
แม้ปัจจุบัน กทม. จะมีการริเริ่มโครงการ telemedicine ผ่านแอพพลิเคชั่น “หมอ กทม.” ในกลุ่มผู้ป่วยนอก (OPD) ที่มีข้อมูลผู้ป่วยอยู่เดิมภายใต้สถานพยาบาลในสังกัดบ้างแล้ว ในระยะยาว กทม.จะพัฒนาให้การให้บริการสาธารณสุขและการรักษาพยาบาลครอบคลุมครบวงจร เช่น การรับแจ้งผู้ป่วยและทำนัดหมาย เช่น ผ่านแอพพลิเคชั่นของ กทม. อย่าง BMAQ การชำระเงินรูปแบบออนไลน์ (e-Payment) การรับยาที่บ้านหรือร้านยาใกล้บ้าน ผสานกับแจ้งเตือนให้กินยาให้ถูกต้องตามแพทย์แนะนำ
เป้าหมายเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการการรักษาที่สะดวก รวดเร็ว ทันสมัย และเชื่อถือได้ผ่านการให้คำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยแบ่งการใช้เทคโนโลยีเป็น 2 รูปแบบ คือ
1. การบริการจากสถานพยาบาลทุติยภูมิ (โรงพยาบาล) กับปฐมภูมิ (ศูนย์บริการสาธารณสุขหรือศูนย์สุขภาพชุมชน) เพื่อเสริมบริการการรักษาแบบมีเจ้าหน้าที่คอยสนับสนุน โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนที่เข้าไม่ถึงเทคโนโลยีและต้องการความช่วยเหลือ
2. การบริการแบบ end-to-end ใช้แอพพลิเคชั่นทางสมาร์ตโฟนเพื่อให้สถานพยาบาลติดต่อกับคนไข้ที่ต้องพบแพทย์เป็นประจำและมีประวัติการรักษาอยู่เดิมได้โดยตรง ลดการเดินทาง พบหมอออนไลน์ รอรับยาที่บ้าน
- People will have access to quick, modern, and reliable medical services and treatments.
People’s experience and memories about using public hospitals are the tiring wait, document process, appointment, payment, and getting medicines. Patients who need to consult specialists find it difficult to see them due to limited numbers of staff. Some families live far away from medical facilities, resulting in high transportation cost. They have to spend more than half a day just to see a doctor for 10 – 15 minutes.
Patients in several disease groups need the follow-up of their symptoms every month or every three months. Some people have lost opportunities to make money. They do not want to take leave or stop working because they need the income for daily expenses. Transportation costs to hospital are particularly high for the older or helpless patients.
These problems can be resolved. People’s access to medical services can be facilitated by applying modern technology and medical digital technology networks.
Today, the BMA has launched the telemedicine project through ‘MorBMA’ application for OPD patients with the existing medical records. In a longer term, the BMA will provide all-inclusive public health and medical services, such as receiving patient notice and making appointments through BMA’s application like BMAQ, e-Payment, receiving medicines at home or somewhere close to their homes, and the warnings for patients to take medicines as instructed by doctors.
The purpose is to facilitate people to have access to convenient, quick, modern, and reliable medical services from professional doctors. The technology can be applied in two ways.
1. Assistance from secondary medical facilities (hospitals) and primary facilities (public health centers or community health centers) to supplement the service with staff support, particularly older patients in the community who may need help but have limited access to technology
2. The End-To-End service by using smartphone applications for medical agencies to directly contact patients who need to see a doctor regularly and have medical records. They do not need to travel to hospitals. Instead, they will see a doctor via an online platform and wait for medicines at home.