- คุณภาพชีวิตของคนกรุงเทพฯ ดีขึ้นจากการเตรียมรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ เช่น การไหลเวียนของฝุ่น ผลกระทบจากการซ่อมแซมถนน (โดยใช้ข้อมูลจำลองจากแบบจำลองเสมือนกรุงเทพฯ ที่รวบรวมข้อมูลสาธารณูปโภคพื้นฐานทั้งหมดเข้าด้วยกัน)
- มีระบบฐานข้อมูลที่ช่วยในการบริหารจัดการเมือง
- วางแผนพัฒนากรุงเทพฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
ปัจจุบันข้อมูลพื้นฐานของ กทม. เช่น ข้อมูลสาธารณูปโภค ประปา ไฟฟ้า ถูกรวบรวมและดูแลโดยหน่วยงานรัฐต่างๆ ทั้งในและนอกกรุงเทพฯ โดยในส่วนของ กทม.ได้มีการเริ่มเก็บภาพถ่ายทางอากาศ และข้อมูลสามมิติของพื้นที่โดยเทคโนโลยี LiDAR ไปบ้างแล้วในบางพื้นที่ อย่างไรก็ดีข้อมูลเหล่านี้ยังขาดการรวบรวมและเชื่อมโยงกันทำให้ กทม.มีข้อจำกัดในการนำข้อมูลไปวิเคราะห์และทำแบบจำลองต่อ
ดังนั้นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเมือง กทม.จะรวบรวมข้อมูล Digital Twin โดยเฉพาะข้อมูลที่มีในปัจจุบัน เช่น ภาพถ่ายทางอากาศ ข้อมูล LiDAR และโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ระบบสาธารณูปโภคใต้ดิน ไฟฟ้า ประปา และฐานข้อมูลด้าน GEO-spatial (ข้อมูลที่ระบุตำแหน่งที่ตั้งของข้อมูลด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ในเมือง ทั้งข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม โครงสร้างพื้นฐาน) ของกรุงเทพฯ ข้อมูลเหล่านี้จะสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการจำลองสถานการณ์หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นภายใน กทม.ได้ เช่น
1. ใช้ข้อมูลแสดงตำแหน่งที่ตั้งอาคารที่อยู่อาศัยของประชาชนมาประกอบเป็นปัจจัยในการตัดสินใจก่อนอนุมัติการซ่อมบำรุงถนน
2. เลือกจุดสำหรับการขุดเจาะไม่ให้กระทบกับทางเข้า-ออกตัวอาคาร เพื่อลดผลกระทบต่อการสัญจรของประชาชนให้มากที่สุด
นอกจากนี้การใช้ฐานข้อมูลที่ช่วยให้เกิดการบริหารจัดการเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรพัฒนาระบบฐานข้อมูลและการเชื่อมต่อแหล่งข้อมูลเพื่อให้เกิดฐานข้อมูลด้านนี้กับกรุงเทพมหานคร
- Better quality of life for Bangkok residents as they are well prepared for different situations such as flow of dust, impacts from road repairs (by using simulated data from the Bangkok virtual model that collects all the infrastructure information)
- Database system supporting city management
- More efficient development planning of Bangkok
Currently, basic information of Bangkok, such as that on utilities, water and electricity, is collected and maintained by various government agencies located both inside and outside Bangkok. BMA has started collecting aerial photographs and the three-dimensional data of the area by LiDAR technology in some areas. However, it is still lacking in terms of collection and connectivity causing limitations for BMA in using it for further analysis and modeling.
For efficient city management, BMA plans to collect Digital Twin data, especially existing data such as aerial photographs, LiDAR (Light Detection and Ranging) data and infrastructure data such as that of underground utilities, electricity and water and GEO-spatial databases (locations of the city’s data in various fields including economic, environmental, social and infrastructure data). The data can then be used to simulate various situations or events that can take place in Bangkok. For example:
1. Using data to locate residential buildings as a factor in decision making before approving road maintenance;
2. Choosing drilling points so that they do not affect the entrance and exit of the building to reduce their impact on public traffic.
Moreover, as the use of database leads to effective city management, Bangkok’s database system and connection of different data should be developed in order to create this kind of database.