- การจราจรคล่องตัวขึ้น
- ลดเวลาบนท้องถนนลง
จุดที่มีการชะลอตัว มีจุดตัด มีการจอดรอ มีการหยุด จะเป็นจุดที่ก่อให้เกิดแรงเสียดทาน (friction) เล็กๆ ที่ส่งผลให้การจราจรในภาพรวมติดขัดได้ เช่น ในพื้นที่ถนน 2 เลน ที่มีเลนหนึ่งรอไฟเลี้ยวทำให้เลนที่เคลื่อนไหวได้เหลือเพียงเลนเดียว ปัญหาลักษณะนี้พบได้โดยทั่วไม่ว่าจะที่แยก จุดกลับรถ จุดตัดต่างๆ หากเราลดการหยุดได้ ลดแรงเสียดทานได้ รถจะลดการติดขัดลง
ดังนั้น กทม.จะปรับกายภาพถนนเพื่อลดแรงเสียดทานบนถนนที่จะส่งผลกระทบต่อกระแสจราจรลง เช่น
1. ปรับปรุงจุดตัด คอขวดต่างๆ บนท้องถนน เช่น เพิ่มการเว้าเกาะกลางในแยกที่มีจุดเลี้ยวรถ เพื่อให้รถที่จะเลี้ยวไปพักหลบตรงที่เว้าได้โดยไม่รบกวนกระแสจราจร
2. ปรับปรุงหัวโค้งหัวมุมให้เกิดการเลี้ยว การตีวงที่ไม่ใช้หลายช่องจราจร
3. ปรับ เพิ่ม/ลด จำนวนช่องทางจราจรเพื่อเพิ่มความจุถนนโดยเฉพาะบริเวณทางแยก
4. การห้ามเลี้ยวในบางกรณี โดยต้องพิจารณาอย่างละเอียด เพื่อให้กระแสจราจรไหลเวียนคล่องตัว
5. เทศกิจจราจร ลงพื้นที่แก้ไขจุดฝืด เช่น กวดขันวินัยจราจรรถจอดริมถนน ที่ทำให้เสียช่องจราจรไป
6. ขอคืนพื้นผิวจราจรจากโครงการก่อสร้าง รวมถึงการจัดการจราจรบริเวณการก่อสร้างให้เกิดจุดฝืดน้อยที่สุด
*อัพเดตล่าสุดวันที่ 27 เมษายน 2565
พัฒนาตามข้อเสนอแนะของประชาชน
- Flowing Traffic
- Reduced time in traffic
Contested points, intersections, parking stops are small friction points that result in overall traffic congestion, for example, a two-lane road with one lane waiting for a turn that leaves only one lane of moving traffic. This is a common problem at all intersections, U-turns, and crossing traffic points. If we can reduce stops, and friction, traffic congestion will be reduced.
Therefore, BMA will adjust the physical conditions of the roads to reduce the frictions affecting traffic flow, such as
1. Improve various cross-traffic spots and bottlenecks on the roads, such as adding a recess in the intersection where turning cars can move out of the way of moving traffic flow.
2. Increase/decrease the number of traffic lanes to increase road capacity, especially at intersections.
3. Some prohibited turns require careful consideration to permit traffic flow.